avengo

ตะรุเตา จากคุกนรกสู่มรดกแห่งท้องทะเล


"ตะรุเตา จากคุกนรกสู่มรดกแห่งท้องทะเล"





    ตะรุเตาเพี้ยนมาจากคำว่า ตะโละเตรา เป็นภาษามลายูแปลว่า มีอ่าวมาก ได้รับการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติเป็นลำดับที่ 8 ของประเทศไทย โดยมีหมู่เกาะมากถึง 51 เกาะ 




     ทำไมถึงเรียกว่าคุกนรก?

     ตามตำนานเก่าแก่ของชาวเรือเล่าขานว่า เกาะตะรุเตา มีอาถรรพ์ ผู้ใดที่กล้าเข้ามาที่เกาะแห่งนี้จะไม่มีโอกาสได้กลับไปอีก และผู้ที่อาศัยอยู่ตามอ่าวต่างๆของหมู่เกาะตะรุเตาเป็นเวลานานจะต้องตกเป็นเหยื่อของความหนาวเย็น มีอาการจับไข้ อาการเพ้อ หรือแม้กระทั่งความตาย

     และเนื่องจากเกาะตะรุเตาเป็นเกาะที่ตั้งอยู่กลางท้องทะเลซึ่งห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ คลื่นลมในฤดูมรสุมรุนแรง อีกทั้งยังชุกชุมไปด้วยจระเข้และฉลาม เกาะแห่งนี้จึงได้รับคัดเลือกจากรัฐบาลไทยให้เป็นสถานที่กักขังนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ 

     นักโทษรุ่นแรกที่ถูกส่งมาที่นี่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ นักโทษคดีอุกฉกรรจ์และนักโทษการเมือง โดยนักโทษคดีอุกฉกรรจ์จะถูกลงโทษและใช้งานอย่างหนัก ต่างจากนักโทษการเมือง

     จนกระทั่งปีพ.ศ. 2486 เกิดไข้มลาเรียระบาดอย่างรุนแรงจนรัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ส่งผลให้นักโทษล้มตายกว่า 700 คน เจ้าหน้าที่ได้ทำการห่อศพแล้วนำไปฝังยังป่าช้า และจำหน่ายออกจากทะเบียนนักโทษโดยไม่แจ้งให้ญาติทราบ

     เนื่องจากสภาพแวดล้อมอันโหดร้ายทารุณและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนั้น ทำให้ที่นี่ได้รับสมญานามว่า "คุกนรกเกาะตะรุเตา"


     ดินแดนแห่งโจรสลัด?

     จากสงครามมหาเอเชียบูรพา ในช่วงพ.ศ. 2484-2488 ทำให้เกาะตะรุเตาถูกตัดขาดออกจากโลกภายนอก เกิดปัญหาขาดแคลนเรื่องอุปโภคบริโภค นักโทษบนเกาะและผู้คุมจึงรวมตัวกันออกปล้นเรือสินค้าที่เดินเรือผ่านน่านน้ำนี้ ถือได้ว่าเป็นการเปิดตำนานโจรสลัดเกาะตะรุเตา

     ในระยะแรก การปล้นของโจรสลัดเกาะตะรุเตา เป็นการปล้นแบบไม่ทำร้ายเจ้าทรัพย์ แต่ภายหลังเริ่มมีผู้เข้าร่วมกลุ่มโจรสลัดมากขึ้น จากเป็นการปล้นแบบไม่ทำร้ายเจ้าทรัพย์ เริ่มเป็นการปล้นแล้วฆ่า สถานการณ์ในตอนนั้นร้ายแรงจนเกินกว่าที่รัฐบาลไทยจะควบคุมได้ ส่งผลให้ไม่มีใครกล้าเดินเรือผ่านทางนี้ จนเกิดผลกระทบในวงกว้าง

     ต่อมาในวันที่ 15 มีนาคม 2489 ทางรัฐบาลไทยตัดสินใจยอมให้ทหารอังกฤษจำนวน 300 นาย ยกพลขึ้นที่อ่าวโละตะวาว เพื่อเข้าปราบปรามโจรสลัด ถือเป็นการปิดตำนานโจรสลัดแห่งเกาะตะรุเตา


     จากคุกนรกสู่มรดกแห่งท้องทะเล





     ในปีพ.ศ. 249 รัฐบาลได้ประกาศให้มีการยกเลิกการดำเนินการทัณฑสถาน (คุก) เกาะตะรุเตา ส่งผลให้ที่แห่งนี้เป็นเกาะร้าง ทำให้มีคนเข้ามาจับจองพื้นที่ทำกินและตัดไม้เป็นจำนวนมาก จึงได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เกาะตะรุเตาและหมู่เกาะใกล้เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติ








     ปัจจุบันเกาะตะรุเตาถือเป็นมรดกทางท้องทะเลที่มีความสวยงาม เป็นเป้าหมายหลักๆของนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมาชมความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจสำคัญๆ หลายจุดดังนี้

     1. อ่าวโละตะวาว ในอดีตเคยเป็นสถานที่กักกันนักโทษ แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นเส้นทางศึกษาประวัติศาสตร์ และยังเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตพรุเตาอีกด้วย
     2. อ่าวพันเตมะละกา จุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยอีกแห่งหนึ่ง
     3. อ่าวเมาะและ มีลานกางเต็นท์และห้องน้ำเปิดให้บริการ


เกาะสำคัญอื่นๆในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

เกาะไข่




เกาะหินงาม

     - เกาะดง
     - เกาะไข่
     - เกาะหลีเป๊ะ
     - เกาะหินงาม


ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวที่เหมาะสม

     16 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี





ขอบคุณภาพจาก อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา








ไม่มีความคิดเห็น:

ริมแม่น้ำรีสอร์ท

"ริมแม่น้ำรีสอร์ท"      อเวนโกพาเพื่อนๆ ไปนอนฟังเสียงน้ำไหลที่ “ริมแม่น้ำ รีสอร์ท” บ้านพักติดริมแม่น้ำ พร้อมลานทำก...

ขับเคลื่อนโดย Blogger.